ลงทะเบียนกับ eToro เดี๋ยวนี้

Maker คืออะไรและมันทำงานอย่างไร?

By Hassan Maishera - อัปเดต 24 June 2024
Maker โลโก้ Maker (MKR)
ราคา
...
24hr ...
7d ...
มูลค่าตามราคาตลาด ...
Maker โลโก้
fact-checked
แม้ว่าผู้เขียนของเราทุกคนจะทำการค้นคว้าและประเมินผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นที่เราเขียนอย่างอิสระ แต่ในโพสต์นี้อาจมีการอ้างอิงถึงผลิตภัณฑ์จากพันธมิตรของเรา ที่เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นมา ซึ่งจะไม่ส่งผลต่อวิธีที่เราประเมิน ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทดสอบของเราและวิธีที่เราจัดหาทุนให้กับเว็บไซต์ไซต์นี้

ตอนนี้การเงินแบบไร้ศูนย์กลาง หรือ Decentralised finance (DeFi) ถือเป็นวงการชั้นนำแห่งหนึ่งในตลาดคริปโต เราต้องขอบคุณ DeFi ที่เข้ามาช่วยให้ผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงแหล่งบริการด้านการเงินได้โดยที่ไม่ต้องมีคนที่เป็นตัวกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง

Maker เป็นแพลตฟอร์ม DeFi ชั้นนำของโลกที่มีโปรเจกต์คริปโตที่ไม่เหมือนใคร เพราะมีการผสมผสานทั้งระบบการเงินแบบไร้ตัวกลางและเหรียญ Stablecoin เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้คนสามารถเข้ามากู้และคืนเงินกลับภายในช่วงเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ จุดที่แตกต่างอีกอย่างหนึ่ง คือ MakerDAO จะนำ MKR ไปใช้ในการจัดการใน Maker Protocol MakerDAO ซึ่งก็คือ Decentralised Autonomous Organisation (DAO) หรือองค์กรอิสระที่ทำงานกันแบบกระจายอำนาจ ส่วน Maker Protocol ก็คือซอฟต์แวร์โปรโตคอล ทั้งสองอย่างนี้ทำงานอยู่บนระบบบล็อกเชนของ Ethereum

สารบัญ

ทำไม Maker ถึงถูกสร้างขึ้นมา

Maker เป็นโทเคนที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อนำไปใช้เป็น Governance Cryptocurrency สำหรับ MakerDAO และ Maker Protocol จริงๆ แล้ว MKR เป็นโทเคนที่จะให้สิทธิ์แก่ผู้ใช้งานได้โหวดเกี่ยวกับการทำงานบนแพลตฟอร์ม Maker Protocol มีข้อแตกต่างบางอย่างที่ไม่เหมือนกับ DeFi Protocol ทั่วไป ทาง Maker จะไม่จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ที่ถือ MKR แต่จะให้สิทธิ์กับพวกเขาได้ออกเสียงและเสนอแผนงานการพัฒนาและการอัพเดตบนแพลตฟอร์มแทน ตัวอย่างแผนงานที่ผู้ถือโทเคนจะต้องร่วมกันโหวด ได้แก่ การเพิ่มสินทรัพย์ค้ำประกันชนิดใหม่เข้ามาบนแพลตฟอร์ม DeFi การเปลี่ยนค่าวัดความเสี่ยงสำหรับประเภทของสินทรัพย์ค้ำประกัน การแก้ไขอัตราเงินฝากของเหรียญ DAI การพัฒนแพลตฟอร์ม DeFi เป็นต้น

MKR และ DAI เป็นโทเคนที่ถูกเชื่อมเข้าด้วยกัน มันจึงเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารเหรียญ Stablecoin ชั้นนำได้ และนี่จึงกลายเป็นฟีเจอร์หนึ่งที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครส่งผลทำให้สามารถผลักดันมูลค่าของ MKR ขึ้นไปได้ ฟีเจอร์อีกอย่างหนึ่งของ MKR ที่มีจุดเด่นไม่แพ้กับฟีเจอร์ก่อนหน้านี้คือ Dynamic Supply Serve ที่ถือเป็นแหล่งเพิ่มเงินทุนให้กับระบบในเวลาที่เหรียญ DAI ที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งรักษาสภาพคล่องไม่เพียงพอที่จะสามารถครอบครุมหนี้ที่มีอยู่ได้ เมื่อเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น MKR จะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ จากนั้นก็ถูกนำไปขายเพื่อจ่ายค่าหนี้ที่ค้างอยู่ แต่เมื่อในระบบมี DAI มากเกินไปแล้ว จำนวนเหรียญ DAI ที่มีเกินความจำเป็นก็จะถูกนำไปขายเพื่อซื้อ MKR กลับคืนมาแล้วนำไปเผาทิ้ง ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการลดอุปทานของ MKR 

ผู้ที่ถือ MKR ก็จะได้รับแรงจูงใจให้ถือ DAI เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อุปทานของ MKR มีมากจนเกินไปหรือภาวะที่ทำให้มูลค่าของ MKR อาจจะลดลง

Maker ทำงานยังไง แล้วมีเทคโนโลยีอะไรที่ขับเคลื่อนมันอยู่

มันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะพูดถึงโทเคน MKR โดยที่ไม่กล่าวถึง DAI Stablecoin ด้วย เนื่องจากทั้ง 2 โทเคนนี้เป็นโทเคนที่ Maker Protocol ต้องใช้สำหรับการบริหารงานในระบบ DAI stablecoin เป็นเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อผู้ใช้งานในโปรโตคอลล็อกเหรียญคริปโต เช่น ETH เข้าไปในแพลตฟอร์มเพราะต้องการกู้เงินออกมาเป็นเหรียญ DAI พอหลังจากนั้นผู้ใช้งานก็สามารถคืนเหรียญ DAI เพื่อแลกคืนกับเหรียญคริปโตที่ถูกล็อกเป็นหลักค้ำประกันไว้อยู่

วัตถุประสงค์แรกของ MakerDAO Protocol ก็คือต้องการมีระบบการทำงานแบบไร้ตัวกลางและระบบการบริหารงานที่สามารถสร้างเหรียญ Stablecoin (DAI) ขึ้นมาให้ทั่วโลกได้ใช้งานกัน นอกจากนี้ MakerDAO Protocol ยังต้องการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้คนได้เข้าไปสนุกสนานในโลกของ DeFi โดยใช้เหรียญคริปโตด้วย

ส่วน MKR เป็นโทเคนที่ถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจากวัตถุประสงค์ในเรื่องการบริหารงานในระบบ เพื่อทำให้ MakerDAO Protocol สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสมและเติบโตขึ้นไปได้ โทเคน MKR จะถูกนำไปใช้สำหรับการจัดการต่างๆ ในระบบนิเวศน์นี้ MKR จะเป็นตัวที่เข้ามากำหนดว่าระบบจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเพื่อให้เหรียญ DAI สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น 

MKR จะถูกใช้ในการโหวดออกเสียงสำหรับแผนงานที่จะไปส่งผลกระทบต่อการใช้งานของ DAI Stablecoin ผู้ที่ถือ MKR จะมีสิทธิ์กำหนดแผนงานต่างๆ ตัวอย่างเช่น กำหนดว่าจะมีเหรียญคริปโตเหรียญใดบ้างที่สามารถถูกนำไปล็อกใน DeFi Protocol ได้ หรือกำหนดราคาให้กับสินทรัพย์ที่ถูกล็อกอยู่  

ผู้ถือ MKR แต่ละคนสามารถลงคะแนนเสียงผ่าน Executive Voting และเมื่อลงคะแนนเสียงเสร็จเรียบร้อยแล้ว Maker Protocol ก็จะถูกดำเนินการเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลที่ตกลงกันไว้ในแผนงาน แต่ก่อนที่จะทำ Executive Voting คนในชุมชน Maker จะต้องลงคะแนนเสียงในอีกขั้นตอนหนึ่งก่อนที่เรียกว่า  Proposal Polling นี่เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้ถือโทเคนได้เข้าไปตรวจสอบแนวโน้มของแผนงานอีกทีก่อนที่จะเข้าไปโหวดกัน แล้วถึงจะนำการเปลี่ยนแปลงไปใช้กับโปรโตคอล

ด้วยเหตุผลที่ว่ามาทั้งหมดนี้จึงทำให้ Maker Protocol แตกต่างจากโปรเจกต์ Stablecoin อื่นๆ เพราะว่าผู้ใช้งานสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงบนเครือข่ายได้ ซึ่งต่างจากเหรียญ Stablecoin อื่น เช่น USDT USDC ที่ผู้ถือเหรียญไม่มีสิทธิ์ออกเสียงในด้านการบริหารเลย

Maker เป็นเงินจริงไหม

Maker Protocol มีโทเคนอยู่ 2 แบบ ได้แก่ MKR และ DAI Stablecoin สำหรับ DAI เป็นเหรียญที่มีจุดเด่นเหมือน “เงินจริง” เพราะมันถูกตรึงค่าให้คงที่กับเงินดอลลาร์ นี่หมายความว่ามันสามารถถูกใช้เป็นแหล่งเก็บมูลค่า (Store of Value) สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of Exchange) หน่วยวัดในทางบัญชี (Unit of Account) และมาตรฐานการชำระเงิน (Standard of Deferred Payment) DAI เป็นเหรียญที่มีไว้เพื่อใช้ชำระหนี้บน Maker Protocol

ตรงข้ามกับ MKR มันไม่ได้ถูกกำหนดมาให้เป็นเงินจริงตามมาตรฐานที่ว่ามานี้ ราคาของมันยังมีความผันผวนอยู่มากจึงไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้งานเหมือนกับ DAI อย่างไรก็ตาม MKR ก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้คนนำไปใช้งานแบบนี้อยู่แล้วด้วย MKR เป็นแค่ Governance Token ที่ถูกนำไปใช้เพื่อโหวดลงคะแนนเสียงในแผนงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นบน Maker Protocol ซึ่งนี่ถือว่าเป็นสิ่งที่ “เงินจริง” ไม่สามารถทำได้

ในตลาดคริปโต Stablecoin ถือว่าเป็นเหรียญที่เหมาะสมที่จะทำหน้าที่เป็นเงินมากกว่า เพราะว่ามูลค่าของมันถูกอิงเข้ากับสกุลเงินทั่วไป (Fiat Currency) แบบ 1:1 นอกจากนี้ยังมีเหรียญคริปโตอื่นๆ อย่างเช่น DASH และ Litecoin ที่ถูกออกแบบให้ทำหน้าที่เป็นเหมือนสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเช่นกัน

ค่าธรรมเนียม & ค่าใช้จ่ายสำหรับ Maker

MKR ก็เหมือนกับสกุลเงินคริปโตอื่นๆ ที่เวลาใช้งานก็จะมีค่าธรรมเนียมเกิดขึ้นมาด้วย โดยผู้ที่ใช้งาน MakerDAO Vaults จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมด้วย (Stability Fee) ค่าธรรมเนียมก็เป็นเหมือนเครื่องวัดความเสี่ยงของโปรโตคอลที่ถูกออกแบบมาเพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการออกเหรียญ DAI Stablecoin ที่คำนวณจากหลักประกันใน Maker Vaults อัตราค่าธรรมเนียม Stability Fee ที่ว่านี้อาจจะไม่คงที่เสมอไป เพราะมันจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ที่ถือ MKR ซึ่งเป็นคนที่ควบคุมการทำงานของโปรโตคอลอยู่ 

นอกจากนั้น คนที่เทรดและลงทุนใน MKR จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเวลาที่ซื้อขายโทเคนผ่านแพลตฟอร์มของโบรกเกอร์ ศูนย์ซื้อขายหรือเครือข่ายแบบ P2P ด้วย แต่ละแพลตฟอร์มจะมีการคิดค่าธรรมเนียมการเทรด ฝากและถอนแตกต่างกันไป ดังนั้น เราขอแนะนำให้คุณเข้าไปเช็คค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมของแต่ละแพลตฟอร์มให้ละเอียดก่อนที่จะเข้าไปซื้อ 

ประโยชน์ของ Maker คืออะไร

Maker เป็นสกุลเงินคริปโตที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการใน Maker Protocol ดังนั้น ผู้ที่ถือโทเคนนี้ก็จะได้รับประโยชน์มากมาย เช่น

การบริหารงานในชุมชน

ข้อดีอย่างหนึ่งของ MKR ก็คือฟีเจอร์การบริหารจัดการงานในชุมชน ผู้ที่ถือ MKR จะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานของ Maker DeFi Protocol ได้ สิทธิประโยชน์นี้จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปควบคุมดูแลอนาคตของแพลตฟอร์ม DeFi เนื่องจากพวกเขาสามารถนำเสนอสิ่งที่อยากเปลี่ยนแปลงได้ ระบบการบริหารงานแบบนี้ถือว่าใช้งานได้ดีมากในระบบนิเวศน์ของ Maker ซึ่งเราก็ต้องขอบคุณไปยัง Active Proposal Smart Contract ที่มีให้เราได้ใช้งานกัน Smart Contract นี้ถูกออกแบบมาให้ผู้ที่ถือโทเคนมีสิทธิ์เข้าไปควบคุมใน Protocol แถมยังทำให้เครือข่ายมีการทำงานที่โปร่งใสมากขึ้นด้วย

ผู้ที่ถือโทเคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้ เข่น การเปลี่ยนแปลงนโยบายสำหรับเหรียญ DAI การตัดสินใจว่าจะรับเหรียญสำหรับการค้ำประกันไหนเพิ่มเข้ามาบ้าง รวมทั้งเรื่องการพัฒนาระบบการบริหารงานด้วย

การเผาค่าธรรมเนียม

เพื่อทำให้มั่นใจว่า MKR จะยังเป็นโทเคนที่มีมูลค่าอยู่ ทางโปรโตคอลจึงนำกลไกการักษาภาวะเงินฝืดเข้ามาใช้งาน วิธีการทำงานของระบบนี้คือเมื่อมีการชำระหนี้แล้ว Smart Contract ถูกปิดตัวลง ผู้ใช้งานจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นโทเคน MKR โดยค่าธรรมเนียมบางส่วนจะถูกนำไปเผาทิ้งเพื่อให้โปรโตคอลสามารถรักษาความสมดุลระหว่างอุปทานกับอุปสงค์

Protocol ที่ใช้กลไกรักษาภาวะเงินฝืดเริ่มเป็นที่นิยมในวงการ DeFi มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าตัวแพลตฟอร์ม DeFi นี้จะไม่ถูกตีค่าต่ำลง เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากนโยบายการออกโทเคนเป็นรางวัล ผู้ที่ออก MKR รู้ดีว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถรักษามูลค่าของโทเคนได้หากยังปล่อยมันออกมาเรื่อยๆ

สามารถใช้งาน Maker โดยที่ไม่ต้องเปิดเผยตัวตนได้ไหม 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีกฎหมายเข้ามาควบคุมในตลาดคริปโตมากขึ้น ทางศูนย์ซื้อขายคริปโตต้องปฏิบัติตามนโยบาย KYC (Know Your Customer) และ AML (Anti Money Laundering) เพื่อป้องกันการทุจริต เช่น การฟอกเงิน ดังนั้น นี่จึงเป็นวิธีการขจัดปัญหาเรื่องการใช้สกุลเงินคริปโตที่ไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ใช้งาน 

การใช้ MKR โดยที่ไม่เปิดเผยตัวตนอาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะมันไม่ใช่สกุลเงินคริปโตสำหรับภาคเอกชนเท่านั้น แต่เป็นโทเคนที่ถูกใช้สำหรับการบริหารงานใน Maker Protocol ดังนั้นจึงอาจเกิดความกังวลในตัวผู้ที่ถือโทเคนนี้อยู่ว่าจะนำโทเคนไปใช้งานบริหารดูแลระบบนิเวศน์ MakerDAO ยังไง

Maker มีความปลอดภัยมากแค่ไหน

DeFi ยังถือว่าเป็นตลาดที่เพิ่งจะเกิดขึ้นมาใหม่ ยังต้องมีเงื่อนไขอีกมากมายที่จะต้องถูกนำไปใช้งานเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับตัวโปรโตคอล ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราก็ได้เห็นแล้วว่ามีแพลตฟอร์ม DeFi หลายแห่งที่ถูกผู้ไม่หวังดีโจมตี และสุดท้ายก็ส่งผลทำให้เกิดความสูญเสียไปมากกว่าหลายร้อยล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม Maker Protocol ในตอนนี้ยังไม่เคยพบเจอกับปัญหาด้านความปลอดภัยใดๆ

Maker ทำงานอยู่บนระบบบล็อกเชนของ Ethereum ที่ถือว่าเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่มีความปลอดภัยมากที่สุดแห่งหนึ่งในวงการคริปโต เราขอแนะนำให้ผู้อ่านรักษา MKR ไว้ให้ดีที่สุดโดยเก็บโทเคนเข้าไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัย เช่น Cold Storage Wallet และก็ควรเพิ่มฟีเจอร์ 2FA เข้าไปในวอลเล็ทด้วย

ทีมพัฒนา Maker คือใคร

Rune Christensen เป็นผู้พัฒนา Maker ขึ้นมา ระบบนิเวศน์ของ Maker ก็คล้ายๆ กับ DeFi Protocol ชั้นนำตัวอื่นๆ ที่มีนักพัฒนาอิสระจากทั่วโลกคอยช่วยกันบริหารงานอยู่เบื้องหลัง การพัฒนา DeFi Protocol จะเกิดขึ้นผ่านเสียงโหวดของผู้ที่ถือ MKR ทั้งนี้นักพัฒนาสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในระบบนิเวศน์ของ Maker ได้ผ่านทาง Github repository

สถาบันการเงินแห่งไหนที่ลงทุนใน Maker

มีสถาบันการเงินบางแห่งที่ลงทุนใน MKR ตัวอย่างเช่น Galaxy Digital ที่เป็นผู้บริหารสินทรัพย์ดิจิตอลชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก holds MKR tokens โดยถือโทเคนนี้อยู่ที่ 12.7% ของพอร์ตดัชนี DeFi ที่ไปลงทุนในสกุลเงินคริปโต และตามข้อมูลของ CoinDesk DeFi Index บอกว่า Grayscale องค์กรบริหารสินทรัพย์ดิจิตอลชั้นนำ holds MKR tokens in its DeFi fund ก็ถือ MKR ในดัชนีการลงทุนใน DeFi ด้วยเหมือนกัน ระบบนิเวศน์ของสกุลเงินคริปโตและตลาด DeFi ยังเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ เราอาจจะได้เห็นสถาบันการเงินเข้ามาลงทุนใน Maker Protocol เพิ่มขึ้นในอนาคตก็ได้

การขุด Maker (Mining)

Maker เป็นโทเคนที่ทำงานอยู่บนระบบบล็อกเชนของ Ethereum ซึ่งก็หมายความว่าโทเคนนี้ไม่สามารถถูกผลิตเพิ่มขึ้นมาได้ MKR ก็เป็นโทเคน ERC-20 ชนิดหนึ่งที่ไม่ได้มีระบบบล็อกเชนเป็นของตัวเอง การตัดสินใจว่าจะให้สร้างโทเคน MKR เพิ่มหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ที่ถือ MKR ซึ่งตอนนี้พวกเขาก็เป็นคนดูแลการทำงานในระบบโปรโตคอลอยู่

Maker วอลเล็ท

MKR เป็นโทเคนชั้นนำในระบบ DeFi ที่ทำงานอยู่บนระบบบล็อกเชนของ Ethereum และมีวอลเล็ทหลายชนิด ทั้งแบบที่เป็น Cold Wallet และ Hot Wallet ที่รองรับโทเคนนี้อยู่ ตัวอย่างวอลเล็ทที่รองรับ MKR ได้แก่

  • Ledger Nano X (Cold storage wallet)
  • Ledger Nano S (Cold storage wallet)
  • Trezor (Cold storage wallet)
  • CoolWallet (Cold storage wallet)
  • MyEtherWallet
  • Exodus
  • Atomic wallet
  • Trust Wallet
  • Crypterium Wallet
  • Coinomi

วอลเล็ทที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถใช้เก็บ MKR ได้ และขอให้คุณอย่าลืมเพิ่มฟีเจอร์รักษาความปลอดภัยเข้าไปด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับ MKR และเหรียญคริปโตอื่นๆ ของคุณ

Maker เป็นสิ่งที่น่าลงทุนไหม

นักลงทุนแต่ละคนต้องตัดสินใจเองว่าสินทรัพย์ทางการเงินชนิดไหนเหมาะหรือไม่เหมาะที่จะไปลงทุนด้วย ถ้าจะให้พูดถึง MKR คุณก็ควรไปศึกษาเกี่ยวกับโปรเจกต์ MakerDAO ซะก่อน คุณจะได้เข้าใจว่ามันทำงานยังไงและอนาคตของมันจะเป็นยังไง และเมื่อคุณรู้ข้อมูลในตัวโปรเจกต์มากพอแล้วคุณถึงจะสามารถตัดสินใจได้ว่า MKR จะเป็นโทเคนที่น่าลงทุนไหม อย่างไรก็ตาม เราจะแนะนำผู้อ่านอยู่เสมอว่าอย่าลงทุนเกินกว่าเงินที่คุณจะยอมเสียได้เพราะว่าตลาดคริปโตยังมีความผันผวนอยู่

คำถามที่พบบ่อย

DAO จาก MakerDAO ย่อมาจากอะไร
DAO ย่อมาจาก Decentralised Autonomous Organisation ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา DAO กลายเป็นสิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในวงการคริปโต และถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมือนใครเพราะมันสามารถเปลี่ยนการทำงานหลายๆ ในองค์กรให้อยู่ในรูปแบบ Smart Contract ทำให้องค์กรมีระบบการบริหารงานที่ทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ที่ถือโทเคนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและทิศทางของแพลตฟอร์มด้วย
ฉันจะซื้อ Maker ได้จากที่ไหน
MKR เป็นโทเคน ERC-20 ที่ผู้คนให้ความนิยมใช้กันโดยสามารถหาได้จากศูนย์ซื้อขายคริปโต แพลตฟอร์มแบบ P2P และแพลตฟอร์มของโบรกเกอร์ แต่เราขอแนะนำให้คุณหาซื้อ MKR จากเทรดดิ้งแพลตฟอร์มที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของหน่วยงานเท่านั้นเพื่อเป็นการป้องกันความปลอดภัยให้กับเงินลงทุนของคุณเอง
ฉันจะใช้ Maker บนมือถือได้ไหม
ได้ คุณสามารถใช้ MKR บนมือถือของคุณได้เลย ทางศูนย์ฯ และวอลเล็ทจะมีแอปบนมือถือให้คุณสามารถเข้าไปใช้งานโทเคนของคุณได้แบบสบายๆ ดังนั้น คุณก็สามารถส่ง รับ ขายหรือซื้อ MKR ผ่านวอลเล็ทบนมือถือของทางศูนย์ฯ ได้เลย
Maker เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศของฉันหรือไม่
คุณต้องเช็คเองว่ากฎหมายเกี่ยวกับสกุลเงินคริปโตของประเทศคุณเป็นอย่างไร ถึงแม้ว่ามันดูเหมือนจะเป็นสินทรัพย์มากกว่าสกุลเงิน แต่ประเทศส่วนใหญ่ก็คิดว่าสกุลเงินคริปโตเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
Collateralised Debt Position (CDP) คืออะไรในระบบนิเวศน์ของ Maker ecosystem
สัญญา CDP เป็นฟีเจอร์ที่ทำให้ Maker กลายเป็นระบบที่สามารถทำงานได้เองแบบอัตโนมัติ สัญญานี้จะถูกปล่อยออกมาเมื่อคุณส่งโทเคน ERC-20 เข้าไปใน Maker Protocol เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเหรียญ DAI Stablecoin โทเคนที่คุณส่งไปนี้จะถูกล็อกให้อยู่ใน CDP Smart Contract และคุณก็จะได้รับเหรียญ DAI เท่ากับเหรียญที่ถูกล็อกเอาไว้ สุดท้ายเมื่อคุณคืนเหรียญที่กู้ไปแล้ว สัญญา Smart Contract ถึงจะปล่อยสินทรัพย์ที่ค่ำประกันอยู่คืนให้กับคุณ
Maker Vault คืออะไร
นี่เป็นชื่อที่ใช้เรียก Smart Contract เมื่อมีการฝากสินทรัพย์ที่ใช้ในการค้ำประกันเข้าไป ผู้ใช้งานสามารถสร้าง Maker Vault และเข้าไปเช็คได้ผ่านทางหน้าอินเตอร์เฟส เช่น Oasis Borrow
การใช้งาน Maker จะมีความเสี่ยงไหม
MKR เป็นโทเคนที่ใช้ควบคุมการทำงานของ Maker Protocol ผู้ที่ถือโทเคนนี้อาจจะเจอกับความเสี่ยงอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม เราขอแนะนำให้ผู้ใช้งานทุกคนทำตามขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้เงินลงทุนสูญหาย
สามารถใช้ MKR เป็นหลักประกันใน Maker Protocol ได้ไหม
สินทรัพย์ที่ทำงานบนเครือข่าย Ethereum จะถูกอนุมัติให้สามารถใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันสำหรับการออกเหรียญ DAI โดยผู้ที่ถือ MKR ในขณะที่เราเขียนบทความนี้ขึ้นมา MKR ยังไม่ได้ถูกอนุมัติให้ใช้เป็นหลักประกันและก็มีหลายคนในชุมชน Maker ที่คิดว่านี่เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำ เนื่องจากหน้าที่ของ MKR ก็คือเป็นแหล่งเพิ่มเงินทุน หากนำไปใช้เป็นหลักประกันอาจทำให้ราคาต่ำลงซึ่งจะส่งผลต่อการชำระหนี้ใน Vault และก็อาจเกิดผลเสียในระบบจนทำให้ราคาของ MKR ต่ำลงด้วย

ข่าว

Maker, now Sky, faces backlash over USDS stablecoin's freeze function
ตลาด

Maker (Sky) เผชิญกับปฏิกิริยาตอบโต้จากฟังก์ชันการแช่แข็ง USDS

29 August 2024 Stablecoin USDS ของ Sky มีฟังก์ชั่นแช่แข็ง ทำให้เกิดข้อกังวลเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ Rune Christensen ผู้ร่วมก่อตั้ง Sky กล่าวว่าฟังก์ชันหยุดการทำงานจะไม่ทำงานในระหว่างการเปิดตัว เว็บไซต์ของ Sky กำลังบล็อก VPN ยิ่งทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นหลังจากการสร้างแบรนด์ใหม่ หนึ่งวันหลังจากที่โครงการ…
Maker Protocol rebrands to Sky, Dai stablecoin rebranded into USDS
ตลาด

Maker Protocol เปลี่ยนชื่อเป็น Sky และ Dai stablecoin เปลี่ยนชื่อเป็น USDS

28 August 2024 Maker Protocol เปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น Sky และเปลี่ยนชื่อสกุลเงินดิจิทัล Stablecoin ของ Dai เป็น Sky Dollar (USDS) โทเค็นการกำกับดูแล MKR ได้รับการอัปเกรดเป็น Sky (SKY)…
ตลาด

Aave (AAVE), Compound (COMP) และ Maker (MKR) อาจเสนอโอกาสในการซื้อ: Santiment

17 February 2022 Aave และโทเค็นอื่นๆ อีกสามตัว COMP, MKR และ REN ได้แสดงให้เห็น 'ราคาต่ำสุดที่ลดลงเมื่อเร็วๆ นี้' ตาม Santiment แพลตฟอร์มการวิเคราะห์ออนไลน์ ราคา Aave ลดลง 2.5%…
ดูข่าวทั้งหมด